มือถือชาร์จไม่เข้า เกิดจากอะไร วิธีแก้ไข

มือถือชาร์จไม่เข้า เป็นปัญหาที่พบได้บ่อยมากที่สุดในการใช้โทรศัพท์ทุกรุ่น ทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็น Android หรือ iPhone ซึ่งก็มาจากหลายสาเหตุโดยหลัก ๆ ก็มีดังนี้

มือถือชาร์จไม่เข้า เกิดจากสายชาร์จ

สายชาร์จเป็นอุปกรณ์ที่เสียง่าย โดยเฉพาะตรงบริเวณขั้วที่ตัวหุ้มสายไฟที่มักจะขาด รวมไปถึงเขี้ยวล็อกของ Micro USB ที่อาจจะหักจากการเสียบเข้าเสียบออกอยู่บ่อย ๆ ดังนั้นให้ลองเปลี่ยนสายชาร์จดูหากพบว่าเกิดปัญหาให้เลือกซื้อของมีมาตรฐานจะคุ้มค่าใช้ได้นานกว่า

ช่องเสียบสายชาร์จสกปรก

สาเหตุนี้มาจากมีฝุ่นสิ่งสกปรกเข้าไปอุดตันในช่องเสียบสายชาร์จของมือถือ ดังนั้นหากชาร์จไฟไม่เข้าลองส่องดูภายในช่องหากพบว่ามีสิ่งสกปรกอุดอยู่ให้ใช้ไม้จิ้มฟันหรือแปรงสีฟันจิ้มขัดเขี่ยออกเบา ๆ เท่านี้ก็ชาร์จไฟได้แล้ว

ช่องเสียบ USB เสีย

การที่เราชาร์จแบตเตอรี่ต้องมีการดึงเข้าออกบ่อย ๆ การเสียดสีของโลหะที่อยู่ในพอร์ต USB กับหัวเสียบของสายชาร์จ หรือพยายามเสียบสายชาร์จแบบไม่ถูกด้านอาจทำให้ช่องเสียบ USB เสียหายได้ หากมีปัญหานี้ต้องส่งซ่อมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

อะแดปเตอร์ชาร์จมีปัญหา

การที่อะแดปเตอร์ชาร์จมีปัญหาจะทำให้การจ่ายไฟออกมาไม่เพียงพอ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการลัดวงจรอยู่ภายในหากร้ายแรงเครื่องจะระเบิดได้ หากต้องเปลี่ยนอะแดปเตอร์ก็ควรใช้ของที่ได้มาตรฐานจะช่วยให้ไม่เกิดปัญหาตามมาในภายหลัง

โทรศัพท์มือถือเก่าเกินไป

มือถือรุ่นเก่าที่ใช้งานมาอย่างยาวนานประสิทธิภาพการชาร์จไฟย่อมด้อยลงตามไปด้วย วิธีแก้ไขก็ขึ้นอยู่กับผู้ใช้งานว่าจะยอมซื้อเครื่องใหม่ หรือจะใช้เครื่องเดิมต่อไป

เกิดจากแบตเตอรี่เสื่อม

ปัญหานี้มาจากหลายสาเหตุโดยส่วนใหญ่มักจะมาพร้อมกับมือถือที่เก่ามากไป แต่ข้อดีของมือถือรุ่นเก่าคือสามารถแกะฝาหลังถอดแบตเตอรี่ออกมาเปลี่ยนเองได้ แต่หากเป็นรุ่นใหม่ต้องนำไปที่ร้านหรือที่ศูนย์เท่านั้น

มือถือชาร์จไม่เข้า เพราะใช้งานระหว่างชาร์จแบตเตอรี่

การใช้งานมือถือในขณะที่กำลังชาร์จแบตเตอรี่จะทำให้มีการกินไฟมากกว่าเดิมทำให้การชาร์จไฟเข้าแบตเตอรี่ไม่ทันทำให้การชาร์จแบตเตอรี่นั้นช้าลง และยังเป็นสาเหตุของแบตเตอรี่เสื่อม ดังนั้นหากชาร์ตแบตเตอรี่ควรจะปิดเครื่องนอกจากจะชาร์จเต็มเร็วแล้วยังเป็นการยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่อีกด้วย

อย่างไรก็ตามหากหาสาเหตุแล้วแก้ไขตามคำแนะนำแล้ว มือถือชาร์จไม่เข้า ก็ควรต้องส่งร้านซ่อมหรือเข้าศูนย์จะดีที่สุดเพื่อจะได้ตรวจสอบซ่อมแซมได้อย่างถูกจุดเมื่อนำกลับมาใช้งานจะได้ไม่เกิดปัญหาตามมาทีหลัง