การทำงานของระบบเบรกรถยนต์ เรื่องใกล้ตัวที่ควรรู้

เพราะรถยนต์ เป็นยานพาหนะที่มีความสำคัญ ที่หลายคนต้องใช้ภายในชีวิตประจำวัน และอย่างที่ทุกคนทราบว่ารถยนต์ที่กำลังเคลื่อนที่ชะลอความเร็ว หรือหยุดการเคลื่อนไหวนั้น เป็นผลมาจากการทำงานของระบบเบรก (Braking system) หลังจากที่ผู้ใช้งานทำการออกแรงเพื่อเหยียบไปบริเวณแป้นเบรก (Brake pedal)

โดยที่หลายคนคงจะรู้อยู่แล้วว่าเหยียบเบรกเป็นวิธีที่ทำให้รถหยุด แต่จะมีสักที่คนที่รู้ว่าระบบเบรกรถยนต์มันคืออะไร และมีอะไรบ้าง ซึ่งเป็นระบบรักษาความปลอดภัยที่สำคัญ เพราะฉะนั้นวันนี้เราจะมาอธิบายเกี่ยวกับการทำงานของระบบเบรกรถยนต์ เพราะถือว่าเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนควรต้องรู้

ระบบเบรกรถยนต์ ทำงานอย่างไร

โดยปกติแล้ว รถยนต์ทั่วไปที่เรามักจะเห็นได้ตามท้องถนน ส่วนใหญ่จะเป็นการใช้ระบบเบรกแบบไฮดรอลิก ซึ่งระบบดังกล่าวจะเป็นระบบเบกที่ต้องอาศัยการทำงานจาก 3 ส่วนหลักด้วยกัน ได้แก่

  • ส่วนที่ใช้ในการส่งผ่านแรง : ส่วนแรกเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการส่งผ่านแรง ที่เกิดขึ้นมาจากการเหยียบเบรก ซึ่งก็คือ น้ำมันเบรก ที่อยู่ภายในท่อน้ำมันเบรก การส่งผ่านแรงในระบบเบรกจะทำให้เกิดความร้องจากเครื่องยนต์ จึงทำให้น้ำมันเบรกมีส่วนสำคัญ เพราะฉะนั้นการเลือกใช้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ
  • ส่วนที่ช่วยขนาดแรงจากการเหยียบแป้นเบรก : ถัดมานั่นก็คือ ส่วนที่ใช้ในการขยายแรงจากการเหยียบแป้นเบรก เพราะเมื่อผู้ขับขี่ออกแรงเหยียบลงไปแล้ว แรงจะถูกส่งต่อไปยัง บูสเตอร์สุญญากาศ ก่อนจะเข้าสู่ส่วนที่สอง เพื่อทำหน้าที่ในการขยายแรงดันเบรก โดยที่สามารถเพิ่มการขยายได้ด้วยแม่ปั๊มเบรก ก่อนที่จะส่งผ่านแรงดันไปตามท่อน้ำมันเบรกเข้าส่วนถัดไป
  • ส่วนที่เกิดแรงเสียดทานเพื่อชะลอความเร็วของล้อ : ส่วนสุดท้าย คือส่วนที่เกิดแรงเสียดทานเพื่อชะลอความเร็วของล้อ เพราะเมื่อแรงดันที่ถูกส่งผ่านมาทางท่อน้ำมันเบรก ก่อนที่จะถูกแยกออกจากวาล์วแยกแล้ว แรงดันนั้นๆ จะส่งผ่านเข้าสู่ชุดเบรกในแต่ละล้อ โดยภายในชุดเบรกจะมีลูกสูบเบรกที่เป็นตัวทำหน้าที่ในการเกิดการเสียดสีระหว่างวัตถุสองสิ่ง เพื่อสร้างแรงเสียดทานในการชะลอความเร็ว ส่งผลโดยตรงต่อขั้นตอนการเลือกผ้าเบรก ที่ต้องเลือกให้เหมาะสมกับการขับขี่

โดยการเบรกรถยนต์ในแต่ละครั้ง ตลอดการขับขี่นั้น ชุดเบรกที่อยู่ล้อหน้าจะรับภาระหนักกว่าชุดเบรกที่อยู่ล้อหลัง เนื่องจากการเบรกจะทำให้น้ำหนักของรถถ่ายโอนไปล้อหน้า หรือการเกิดแรงเฉื่อย โดยที่ในปัจจุบันรถยนต์ทั่วไปที่ถูกผลิตเข้ามาภายในตลาดรถยนต์ที่มีราคาไม่สูงมาก ก็จะมีชุดเบรกอยู่ในระบบเบรกด้วยกัน 2 ประเภท ได้แก่ ชุดดิสก์เบรก (ล้อหน้า) และชุดดรัมเบรก (ล้อหลัง) เนื่องจากการทำงานของดิสก์เบรกให้ประสิทธิภาพในการเบรกสูงมากกว่าดรัมเบรก เพราะเบรกส่งผลโดยตรงต่อความปลอดภัย เพราะฉะนั้นก่อนขับขี่ควรตรวจเช็คสภาพก่อนใช้งานอย่างสม่ำเสมอ